วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ผู้นำพายุฝนมาสู่ลุ่มน้ำแม่กก
หกโมงเช้าวันพุธกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 สภาพอากาศเริ่มเปลี่ยนเร็วกว่าปีก่อน ฝน-แต่ส่วนใหญ่จะเป็นลมพายุมากกว่า-เริ่มเบียดฤดูร้อนปรากฏมาเป็นพักๆได้ หลายวันต่อกันแล้ว
ผมและพี่ชาย คุณสมสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อกรุงไทยเชียงราย-พะเยา ได้กลับมาปั่นจักรยานที่เชียงรายอีกครั้ง หลังจากห่างไปสองเดือนช่วงที่ผมไปทำงานที่อำเภอแม่สาย
เราเลือกเส้น ทางใหม่เพื่อให้ได้ระยะที่"ไกล"กว่าเดิม โดยคุณสมสวัสดิ์แนะนำเส้น "เลียบริมน้ำแม่กก" คือออกจากตัวเมืองเชียงรายลัดเลี้ยวไปตามลำน้ำแม่กกฝั่งทิศใต้
ข้ามสะพานแล้ววกเลาะกลับริมฝั่งทางทิศเหนือ
อันว่าสันฐานของจังหวัดเชียงรายฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ราบลุ่มชุ่มน้ำกว้าง ใหญ่ อุดมสมบูรณ์ทั้งความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมตั้งแต่ สมัยกาลโบราณ ก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะย้ายไปสร้างอาณาจักรล้านนา ณ เมืองเชียงใหม่เสียอีก
พื้นที่ราบลุ่มนี้เกิดขึ้นจากแม่น้ำที่สำคัญ หลายสาขาไหลผ่าน โดยด้านทิศเหนือเรียกที่ราบลุ่มเชียงแสนซึ่งมีแม่น้ำแม่สายและแอ่งเชียงแสน เป็นจุดเด่นที่สำคัญ
แต่รอบนี้เราจะปักหมุดไปที่ "ลุ่มน้ำแม่กก"ทางด้านล่างลงมา ซึ่งมีแม่น้ำแม่กกเป็นโลหิตเส้นใหญ่มีต้นสายธารจากเทือกเขาแดนลาวแถบเมือง เชียง ตุงในรัฐฉานของสหภาพพม่า เข้าเขตประเทศไทยที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อายของเชียงใหม่ ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำแม่ลาวซึ่งเป็นเส้นเล็กก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง รวมระยะได้ 130 กิโลเมตร
หกโมงเช้าวันพุธเลยจุดบรรจบแม่กกและแม่ลาวไปไม่กี่กิโลเมตร ขณะที่ผมปั่นจักรยานคู่กับพี่ชายพลางสายตาก็เสาะหา"หมาย"นกใหม่ๆตามคำบอก เล่าของพี่ชายเนวิเกเตอร์ว่า "น่าจะมีนก"ให้ดู
เนื่องจากสองข้างถนน เป็นช่วงที่ต้นคูนออกดอกเหลืองอร่าม บางต้นผลิใบอ่อน ตามมาด้วย "หนอนผีเสื้อ" และน่าจะเป็น"หนอนนก"ในธรรมชาติไปในตัว
ขณะปั่นไปพลาง ดูไป ทันใดเสียงพี่ชายตะโกนพร้อมชี้ให้ดูว่า "เฮ้ยท่าน นั่นนกอะไรหนะ?" แว๊บแรกเห็นรางๆผมเบรครถถีบแทบหัวทิ่ม นั่นมันนกมีหงอนที่ไม่ใช่ปิ๊ดจะลิ่วแน่นอน!
ผมขอคุณสมสวัสดิ์วก จักรยานกลับไปดูให้แน่ใจ ในใจคิดไว้แล้วถึงแม้จะเห็นรูปปร่างเพียงเสี้ยววินาทีถีบและไม่เคยได้พบนก ชนิดนี้มาก่อน แต่มันต้องเป็นนกตัวนั้นแน่นอน
โชคดีที่นกยังกระโดด อยู่ต้นเดิมอีกหนึ่งจังหวะก่อนบินวับหายไปในเวลาเพียง ไม่กี่วินาที และผมก็ได้เห็นเต็มๆสองลูกตาแล้วว่าเขาคือ ผู้มาเยือนลุ่มน้ำแม่กก..."นก คัคคูขาวดำ" !!!
นกคัคคูขาวดำหรือภาษาอังกฤษเรียก Pied Cuckoo ผมมักออกเสียงเพี้ยนเป็น"คัดคู"อยู่เรื่อย ถือเป็นนกหายากมาก ข้อมูลในประเทศไทยยังน้อย
รูปร่างเปรียวลำตัวด้านบน ปีกและหางสีดำปลายปีกและปลายหางมีแซมขาว หงอนยาวสีดำและลำตัวส่วนล่างขาว ขนาดยาวเท่าๆกับนกเอี้ยง
ถิ่น อาศัยบริเวณพื้นที่เปิดโล่ง พบอาศัยในแอฟริกา อพยพมาวางไข่หรืออพยพผ่านแถบอินเดียและเอเชียบางส่วนช่วงระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
โดยพบว่านกคัคคูขาวดำจะไข่ทิ้งไว้ในรังของนก ชนิดอื่นซึ่งมักเป็นนกกินแมลง และนกปรอด จากนั้นจะทิ้งไข่ให้พ่อแม่บุญธรรมเลี้ยงโดยไม่สนใจลูกตัวเองอีกเลย
ในประเทศแถบเอเชียใต้มีตำนานเกี่ยวกับนกชนิดนี้ว่าเป็น "The harbinger of the monsoon" หรือ "ผู้มาพร้อมลมมรสุม" เมื่อพบนกชนิดนี้แล้วอีกภายในสองสามวันจะมีมรสุมตามมา
ตามตำนานเชื่อ ว่านกคัคคูขาวดำจะกินน้ำจากเม็ดฝนเพื่อดำรงชีวิต มีผู้ให้ข้อมูลว่านกอาจอาศัยลมมรสุมช่วยในการบินเพื่ออพยพมาทำรังวางไข่ใน พื้นที่แถบเอเชีย
หลังจากพบนกครั้งแรกตอนเช้า ผม คุณสมสวัสดิ์และน้าจุ้ยhualek3 ได้สละสภากาแฟหลังอาหารเที่ยงไปวนดูอีกรอบ แต่ไม่พบ
จนกระทั่งเช้าวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 วันถัดมา ผมและน้าจุ้ยไปดูเพื่อเก็บภาพให้ได้อีกครั้ง ในที่สุดก็ได้ภาพนกชนิดนี้เป็นหลักฐาน
จาก นั้นเราได้ไปเวียนดูบ่อยๆ เพราะอยากรู้ว่าคัคคูขาวดำจะอยู่อีกนานแค่ไหน เก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด วันที่ 17 พฤษภาคม 2553 น้าจุ้ยรายงานพร้อมภาพยืนยันว่าพบนกคัคคูขาวดำจำนวนสองตัวบินไล่กันไปมา
จึง อาจเป็นไปได้ว่านกชนิดนี้อาจไม่ใช่แค่ผู้พาพายุฝนมาสู่ลุ่มแม่น้ำกกเท่า นั้น อาจมาทำรังวางไข่ในประเทศไทยตลอดฤดูฝนด้วยก็เป็นได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี
บริเวณที่พบคัคคูขาวดำ ผมและน้าจุ้ยยังพบนกคัคคูอีกคู่หนึ่งตามตำรา "A Guide to the Birds of Thailand" ของคุณหมอบุญส่งสถานะเข้าขั้น"หายาก" นั่นก็คือนกคัคคูพันธุ์ยุโรป
โดยพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 นอกจากนั้นแล้วยังมีเพื่อนถ่ายภาพนกจากกรุงเทพฯพบ"นกคัคคูพันธุ์อินเดีย" บริเวณเดียวกันอีกชนิดหนึ่งด้วย
เข้าใจว่าหนอนผีเสื้อบนต้นคูนคงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้พบนกคัคคูทั้งสามชนิด บริเวณดังกล่าวในเวลาไล่เลี่ยกัน
นอก เหนือจากนั้น "หมายบ้านท่าบันได" ริมแม่น้ำกก ยังพบนกกระเต็นปักหลักซึ่งถือเป็นนกที่มีเสน่ห์โดยเฉพาะการ hover บนอากาศก่อนพุ่งลงโฉบปลาในลำน้ำ ซึ่งต้องหาเวลาไปเก็บภาพให้ได้
เป็นอันว่าระหว่างมรสุมเปลี่ยนฤดูปีนี้ นกคัคคูขาวดำหนึ่งคู่ได้ปรากฏตัวขึ้นที่เชียงรายพร้อมกับเพื่อนๆนกคัคคูอีก สองชนิด ต่อจากนี้ที่ราบลุ่มน้ำแม่กกก็จะเปลี่ยนจากภาวะแห้งแล้งเป็นชุ่มน้ำอีกครั้ง
ได้ แต่หวังว่าเขาจะทำรังวางไข่ตลอดฝน แม้จะเป็นการไข่ทิ้งไว้ในรังของนกชนิดอื่นก็ถือเป็นเรื่องของธรรมชาติ ที่เราได้ชมอย่างมีความสุข พร้อมทั้งได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ "ผู้มาพร้อมลมมรสุม" ให้ลึกซึ้งกันต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น